วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

                Knowledgemanagement

                ความรู้ คือ สิ่งที่อยู่ในตัวของทุกคน ไม่สามารถถ่ายอดทางพันธุกรรมได้  เป็นสิ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก จากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
                การคิด คือ สิ่งทีเราคิดออกมาจากสมองของเรา การที่เรารับรู้และรู้สึกสิ่งต่างๆได้เมื่อเรา สัมผัสทั้งกายและใจ นั้นคือ มีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น ความรู้สึกต่างๆ สุข เศร้า เสียใจ และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ
ตัวเรา
                การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนในการที่จะนำความรู้มาสร้างหรือให้เกิดผลประโยชน์ อาจจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีขั้นตอนการวางแผนการจัดการความรู้ไม่ใช่เป็นแฟชั่นที่เกิดได้ตามยุคสมัยหรือการสร้างภาพ แต่ต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นในองค์การที่ไม่มีสูตรตายตัว
                จุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้

                การที่เรามีความรู้อยู่แล้วมันก็เป็นสิ่งดีแก่ตัวของเรา แต่ถ้าเราได้มีการแปลงเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆๆกับเพื่อน ก็จะทำให้เรามีความรู้ใหม่เกิดขึ้น ทำให้ได้มีความรู้มากกว่าเดิม
                ความเป็นมาของการจัดการความรู้
Ikujiro Nonaka เป็นผู้บุกเบิกการจัดการความรู้ วิวัฒนาการของการจัดการความรู้ แบบจำลอง SECI Model ว่ามี4 ขั้น ความหลากหลายของการจัดการความรู้ในหลายมุมมอง ประเภทของความรู้
                วิวัฒนาการของการจัดการเรียนรู้
                Pre-SECI - ค.ศ. 1978 เป็นยุคของการเริ่มต้นในการจัดการความรู้ โดยรูปแบบที่ใช้ จะถูกกำหนดให้การจัดการความรู้เป็นระบบที่มีโครงสร้างตายตัว ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุน
               SECI-1995 เป็นยุคที่มีการจำแนกของความรู้และอธิบายความรู้ไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งความรู้เป็น 2 ประเภท คือ
Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ปรากฏและมองเห็นได้ชัดเจนสามารถทำออกมาในรูปแบบเอกสาร คู่มือ หรือสื่อต่างๆ
Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ไม่ปรากฏชัดเจน ถูกฝังลึกและซ่อนร้นอยู่ในตัว อาจเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ พรสวรรค์

                ระดับของความรู้
                ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
                ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
                ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้

                ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น